วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย


ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
        ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้นว่า ความเชื่อ ค่านิยม แบบแผนพฤติกรรม วัฒนธรรมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะมีความแตกต่างกัน องค์การขนาดใหญ่อาจจะมีระบบวัฒนธรรมที่นำมาจากระบบใหญ่
แนวการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ สามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น ความพยายามเปลี่ยนแปลง องค์การอย่างมีแบบแผน มีการวิเคราะห์ปัญหา/วางแผนยุทธศาสตร์และใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือการพัฒนาระบบโดยมีส่วนร่วมทั้งองค์การ เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงลงสู่ระดับล่างขององค์การ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ  ดังแนวคิดของบุคคลต่อไปนี้
แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
     กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ  
   1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง   2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 

แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
   เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

      อ้างอิง     http://www.expert2you.com
                    http://www.pharmacy.cmu.ac.th

กิจกรรมที่ 7

  การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   สรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
     
การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
    ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ใน
ระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน
ทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความ
สนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วย
ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและ
สิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดง
พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ
2. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดย
ทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความ
เคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน
เป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความ
เป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิก
เรียน
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ


วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

กิจกรรมที่6
 สรุปและแสดงความคิดเห็นมาตรฐานวิชาชีพและการนำไปใช้ประกอบวิชาชีพครู
         รองศาตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์  สารานุกลมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา
มาตรฐานวิชาชีพครู
         ทุกคนย่อมมีมาตรฐานวิชาชีพครู   เพื่อวัดหรือประเมินค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพครูตามมาตรฐานด้านความรู้  ทักษะประสบการวิชาชีพ  เพื่อความประส่งในการรักษาและพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงสุด  เพื่อให้สาธารณชนเห็นความสำคัญและคงอยู่ได้ด้วยมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
          มาตรฐานวิชาชีพทางด้านการศึกษามีความสำคัญยิ่ง  การสร้างบุคคลมีคุณคลมีคุณภาพ  มีศักยภาพจะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า   มาตราบานของประเทศไทยได้ค้นคว้าในรูปการวิจัย  มาตราบานวิชาชีพหมายถึงจุดมุงหมายหลักที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ   ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู   เพื่อมีคุณภาพสูงสุด  บริการแก่สาธรรณชน   จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง   และสามารถสร้างความเชื้อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้บริหารวิชาชีพ  กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษาและต้องมีในอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น  เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะต้องให้ความรู้   ทักษะและความเชียวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  .2546มาตรา49ได้กำหนดไว้ 3ด้าน
        1 มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐาน  2 ส่วน
                -มาตราบานความรู้มีคุณวุฒิปริญญาตรี  ทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิที่ครุสภารับรอง
                 -มาตรฐานประสบการวิชาชีพ  ต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน  และสาขาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาไม่น้อยกว่า1และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการครุกำหนด
      2  มาฐานการปฏิบัติงาน  12 ประการ
    3   มาตรฐานการปฏิบัติ    กำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฎิบัติวิชาชีพจะต้องปาระพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู   (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาสำนักงานเลขานุการคุรุสภา 2548 )  ปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศชาติ
การนำไปประยุกต์ใช้
           เน้นมาตรฐานวิชาชีพของตน  ในการบริหารผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด  ทั้งภายในภายนอกสถาบันภาควิชาและหน่วยงานต่างๆเช่นการสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะ คลินิก   ที่ให้บริการหลากหลาย  มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ  เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา  สำนักประเมินคุณให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ  .2546   การประยุกต์ใช้วิชาชีพมาตรฐานวิชาชีพ   ย่อมขึ้นกับความต่างของ วิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐาน
แสดงความคิดเห็น
ครูที่ได้คุณภาพจะต้องมีคุณสมบัติที่ดี  มีความสุข  ความสามารถ   และผ่านการฝึกทักษะเป็นอย่างดี   เพื่อจะได้ซึ่งมาตรฐานวิชาครูชั้นสูง  มีจรรยาบรรณในความเป็นครูและจะต้องได้รับในการอนุญาตการสอนจากคุรุสภาก่อนและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้วิธการนี้ต่อไปเพราะจะทำให้ครูในสังคมไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5 ต้นแบบแห่งการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 5 ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อก  สิ่งที่ได้คืออะไร และจะใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
สิ่งที่ได้ก็คือต้นแบบที่ดีล้วนเป็นสิ่งที่ที่อยู่ในวงการศึกษามากมายเช่น  ครูต้นแบบ  โรงเรียนต้นแบบ    ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ  ผู้บริหารต้นแบบ  นักเรียนต้นแบบ   ผู้ปกครองต้นแบบ  ชุมชนต้นแบบ 
อาจารย์ประยูร   ธรรมจิตโตได้ให้ความสำคัญของคำว่าต้นแบบว่ามีสองนัยเมื่อวันที่ 19  ตุลาคม  2544  ซึ่งในโอกาสที่ได้ไปเทิดพระเกียรติสมเด็ดย่ากับรองศาสตราจารย์   บุญนำ  ทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ101ปีที่ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นัยแรก  คือ    ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ได้ดูแบบได้ศึกษาพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบเลียนแบบและ  ต่อมาก็ประยุกต์แบบ
นัยที่สอง คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการไผ่รู้ไผ่เรียนเป็นกำลังใจแก้ผู้ดูแลกระตุ้นให้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงามและท่านได้กล่าวถึงการศึกษา  การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้การศึกษาเป็นระบบกัลยามิตร   เป็นพรหมจรรย์  การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำกลังใจครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีสามประการคือต้นแบบสอนให้รู้  สอนให้ทำ  และอยู่ให้เห็น    หากครูเป็นต้นแบบที่ดีก็จะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ เกิดครูดี  ศิษย์ดี  ขยายต่อๆกันไป  ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้  ย่อมจะไม่เหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด   หากต้นแบบไม่เหมาะสมเยาวชนและประเทศชาติจะเป็นอย่างไร
ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองคือ
นำความรู้ที่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเป็นต้นแบบที่ดี  เป็นครูที่ดีไม่กระทำอบายมุขไม่เป็นต้นแบบของการฉ้อราษฎร์   ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและว่าจา   ต้นแบบของการประจบสอพลอ  เพราะจะทำให้สังคมเดือดร้อนไม่มีต้นแบบที่ดีไม่เป็นที่น่าชื้นชมแก่ศิษย์แล้วประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร  ดิฉันจึงอยากเป็นครูคนหนึ่งที่เป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กและลูกศิษย์  และจะสอนวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้เต็มความสามารถเพื่ออนาคตของคนในประเทศชาติ

กิจกรรมที่ 4เรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง

 กิจกรรมที่4 ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงและสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด  ผู้อำนวยการ  สถาบันส่งเสริมกรจัดความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงไม่สามรถหลีกเลี่ยงได้     มีผลกระทบและสร้างหายนะและความสำเร็จและโอกาสใหม่ๆให้กับองค์กร  คาร์ล  คาร์วิน ผู้ที่อยู่รอด  มิใช้เป็นสายพันที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นที่สามรถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด  ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ   การรู้เปิดใจกว้างไม่ยึดติดอยู่กับความคิดหรือความรู้เดิมๆ  ถือเป็นการเปลี่ยนแปลง  ครั้งยิ่งใหญ่เป็นการเริ่มต้นสู้การเป็นรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ
เราจะเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างไร  เพื่อจะให้ได้มาซึ้งโครงสร้างองค์กรที่แบบราบไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย    เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช้เรื่องง่าย  เรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับคนองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้สำเร็จ  คือประสบการณ์ที่ผ่านมา  แม้ว่าวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นจะตื่นตาตื่นใจเพียงใด  แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ววิสัยทัศน์ที่วางไว้ก็จะไร้ความหมาย  ไม่มีน้ำหนัก  แต่ในทางตรงกันข้ามวิสัยทัศน์ไม่ดึงดูดใจเท่าไหร่   แต่ถ้าคนมีความชอบ  ความเชื่อ   หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดความสำสำเร็จได้มากทีเดียว
การยอมรับนับนับถือบุคคลนั้นจะต้องมีอะไรเหนือ  หรือโดดเด่นอยู่อย่างเช่นเรื่องคุณวุฒิ  วัยวุฒิ  ประสบการณ์   หรือความรู้ความสามารถ  แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  แน่นอนว่าธุรกิจต่อการแข่งขัน  เป้าหมายคือชัยชนะแต่สำหรับผู้นำที่แท้จริง  ชัยชนะที่ได้มานั้น เขามองในฐานนะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน  ไม่ใช้เพียงตัวเขาเท่านั้น  และคิดถึงตัวเองเป็นคลสุดท้ายเสมอ  เป็นคนเสียสละยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ  สิ่งที่เราได้รับคือความศรัทธาและสามารถจะเชื่อใจ  ผู้ตามได้นั้นเอง ผู้นำที่พบทั่วไปส่วนมากมาจากตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่และขาดความเป็นผู้ให้   ขาดความเสียสละ  จึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีและไม่ดี