วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย


ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
        ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้นว่า ความเชื่อ ค่านิยม แบบแผนพฤติกรรม วัฒนธรรมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะมีความแตกต่างกัน องค์การขนาดใหญ่อาจจะมีระบบวัฒนธรรมที่นำมาจากระบบใหญ่
แนวการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ สามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น ความพยายามเปลี่ยนแปลง องค์การอย่างมีแบบแผน มีการวิเคราะห์ปัญหา/วางแผนยุทธศาสตร์และใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือการพัฒนาระบบโดยมีส่วนร่วมทั้งองค์การ เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงลงสู่ระดับล่างขององค์การ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ  ดังแนวคิดของบุคคลต่อไปนี้
แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
     กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ  
   1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง   2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 

แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
   เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

      อ้างอิง     http://www.expert2you.com
                    http://www.pharmacy.cmu.ac.th

กิจกรรมที่ 7

  การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   สรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
     
การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
    ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ใน
ระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน
ทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความ
สนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วย
ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและ
สิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดง
พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ
2. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดย
ทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความ
เคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน
เป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความ
เป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิก
เรียน
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ


วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

กิจกรรมที่6
 สรุปและแสดงความคิดเห็นมาตรฐานวิชาชีพและการนำไปใช้ประกอบวิชาชีพครู
         รองศาตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์  สารานุกลมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา
มาตรฐานวิชาชีพครู
         ทุกคนย่อมมีมาตรฐานวิชาชีพครู   เพื่อวัดหรือประเมินค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพครูตามมาตรฐานด้านความรู้  ทักษะประสบการวิชาชีพ  เพื่อความประส่งในการรักษาและพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงสุด  เพื่อให้สาธารณชนเห็นความสำคัญและคงอยู่ได้ด้วยมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
          มาตรฐานวิชาชีพทางด้านการศึกษามีความสำคัญยิ่ง  การสร้างบุคคลมีคุณคลมีคุณภาพ  มีศักยภาพจะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า   มาตราบานของประเทศไทยได้ค้นคว้าในรูปการวิจัย  มาตราบานวิชาชีพหมายถึงจุดมุงหมายหลักที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ   ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู   เพื่อมีคุณภาพสูงสุด  บริการแก่สาธรรณชน   จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง   และสามารถสร้างความเชื้อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้บริหารวิชาชีพ  กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษาและต้องมีในอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น  เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะต้องให้ความรู้   ทักษะและความเชียวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  .2546มาตรา49ได้กำหนดไว้ 3ด้าน
        1 มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐาน  2 ส่วน
                -มาตราบานความรู้มีคุณวุฒิปริญญาตรี  ทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิที่ครุสภารับรอง
                 -มาตรฐานประสบการวิชาชีพ  ต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน  และสาขาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาไม่น้อยกว่า1และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการครุกำหนด
      2  มาฐานการปฏิบัติงาน  12 ประการ
    3   มาตรฐานการปฏิบัติ    กำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฎิบัติวิชาชีพจะต้องปาระพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู   (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาสำนักงานเลขานุการคุรุสภา 2548 )  ปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศชาติ
การนำไปประยุกต์ใช้
           เน้นมาตรฐานวิชาชีพของตน  ในการบริหารผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด  ทั้งภายในภายนอกสถาบันภาควิชาและหน่วยงานต่างๆเช่นการสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะ คลินิก   ที่ให้บริการหลากหลาย  มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ  เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา  สำนักประเมินคุณให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ  .2546   การประยุกต์ใช้วิชาชีพมาตรฐานวิชาชีพ   ย่อมขึ้นกับความต่างของ วิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐาน
แสดงความคิดเห็น
ครูที่ได้คุณภาพจะต้องมีคุณสมบัติที่ดี  มีความสุข  ความสามารถ   และผ่านการฝึกทักษะเป็นอย่างดี   เพื่อจะได้ซึ่งมาตรฐานวิชาครูชั้นสูง  มีจรรยาบรรณในความเป็นครูและจะต้องได้รับในการอนุญาตการสอนจากคุรุสภาก่อนและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้วิธการนี้ต่อไปเพราะจะทำให้ครูในสังคมไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5 ต้นแบบแห่งการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 5 ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อก  สิ่งที่ได้คืออะไร และจะใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
สิ่งที่ได้ก็คือต้นแบบที่ดีล้วนเป็นสิ่งที่ที่อยู่ในวงการศึกษามากมายเช่น  ครูต้นแบบ  โรงเรียนต้นแบบ    ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ  ผู้บริหารต้นแบบ  นักเรียนต้นแบบ   ผู้ปกครองต้นแบบ  ชุมชนต้นแบบ 
อาจารย์ประยูร   ธรรมจิตโตได้ให้ความสำคัญของคำว่าต้นแบบว่ามีสองนัยเมื่อวันที่ 19  ตุลาคม  2544  ซึ่งในโอกาสที่ได้ไปเทิดพระเกียรติสมเด็ดย่ากับรองศาสตราจารย์   บุญนำ  ทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ101ปีที่ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นัยแรก  คือ    ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ได้ดูแบบได้ศึกษาพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบเลียนแบบและ  ต่อมาก็ประยุกต์แบบ
นัยที่สอง คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการไผ่รู้ไผ่เรียนเป็นกำลังใจแก้ผู้ดูแลกระตุ้นให้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงามและท่านได้กล่าวถึงการศึกษา  การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้การศึกษาเป็นระบบกัลยามิตร   เป็นพรหมจรรย์  การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำกลังใจครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีสามประการคือต้นแบบสอนให้รู้  สอนให้ทำ  และอยู่ให้เห็น    หากครูเป็นต้นแบบที่ดีก็จะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ เกิดครูดี  ศิษย์ดี  ขยายต่อๆกันไป  ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้  ย่อมจะไม่เหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด   หากต้นแบบไม่เหมาะสมเยาวชนและประเทศชาติจะเป็นอย่างไร
ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองคือ
นำความรู้ที่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเป็นต้นแบบที่ดี  เป็นครูที่ดีไม่กระทำอบายมุขไม่เป็นต้นแบบของการฉ้อราษฎร์   ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและว่าจา   ต้นแบบของการประจบสอพลอ  เพราะจะทำให้สังคมเดือดร้อนไม่มีต้นแบบที่ดีไม่เป็นที่น่าชื้นชมแก่ศิษย์แล้วประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร  ดิฉันจึงอยากเป็นครูคนหนึ่งที่เป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กและลูกศิษย์  และจะสอนวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้เต็มความสามารถเพื่ออนาคตของคนในประเทศชาติ

กิจกรรมที่ 4เรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง

 กิจกรรมที่4 ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงและสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด  ผู้อำนวยการ  สถาบันส่งเสริมกรจัดความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงไม่สามรถหลีกเลี่ยงได้     มีผลกระทบและสร้างหายนะและความสำเร็จและโอกาสใหม่ๆให้กับองค์กร  คาร์ล  คาร์วิน ผู้ที่อยู่รอด  มิใช้เป็นสายพันที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นที่สามรถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด  ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ   การรู้เปิดใจกว้างไม่ยึดติดอยู่กับความคิดหรือความรู้เดิมๆ  ถือเป็นการเปลี่ยนแปลง  ครั้งยิ่งใหญ่เป็นการเริ่มต้นสู้การเป็นรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ
เราจะเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างไร  เพื่อจะให้ได้มาซึ้งโครงสร้างองค์กรที่แบบราบไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย    เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช้เรื่องง่าย  เรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับคนองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้สำเร็จ  คือประสบการณ์ที่ผ่านมา  แม้ว่าวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นจะตื่นตาตื่นใจเพียงใด  แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ววิสัยทัศน์ที่วางไว้ก็จะไร้ความหมาย  ไม่มีน้ำหนัก  แต่ในทางตรงกันข้ามวิสัยทัศน์ไม่ดึงดูดใจเท่าไหร่   แต่ถ้าคนมีความชอบ  ความเชื่อ   หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดความสำสำเร็จได้มากทีเดียว
การยอมรับนับนับถือบุคคลนั้นจะต้องมีอะไรเหนือ  หรือโดดเด่นอยู่อย่างเช่นเรื่องคุณวุฒิ  วัยวุฒิ  ประสบการณ์   หรือความรู้ความสามารถ  แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  แน่นอนว่าธุรกิจต่อการแข่งขัน  เป้าหมายคือชัยชนะแต่สำหรับผู้นำที่แท้จริง  ชัยชนะที่ได้มานั้น เขามองในฐานนะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน  ไม่ใช้เพียงตัวเขาเท่านั้น  และคิดถึงตัวเองเป็นคลสุดท้ายเสมอ  เป็นคนเสียสละยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ  สิ่งที่เราได้รับคือความศรัทธาและสามารถจะเชื่อใจ  ผู้ตามได้นั้นเอง ผู้นำที่พบทั่วไปส่วนมากมาจากตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่และขาดความเป็นผู้ให้   ขาดความเสียสละ  จึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีและไม่ดี

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง

ประวัติส่วนตัว
ชื่อเล่นน้องทราย
นางสาวมลฤดี  สังข์ทอง   รหัส   5111116006   คณะครุศาสตร์   เอกสังคมศึกษา   กลุ่มเรียน01
บ้านอยู่ตำบลตลิ่งชัน   อำเภอท่าศาลา    จังหวัดนครศรีธรรมราช
งานอดิเรก   อ่านหนังสือทั่วไป
ชอบสีชมพู
ประวัติการศึกษา
ปฐมศึกษาจบจากโรงเรียนวัดจันท่าราม  .ตลิ่งชัน  .ท่าศาลา   .นครศรีธรรมราช
มัธยมศึกษาจบจากโรงเรียนสระแก้วรัตนวิทย์  .สระแก้ว  .ท่าศาลา   .นครศรีธรรมราช
ปรัชญา
ทำดีเสมอตัว    ทำชั้วมีคนมอง

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

กิจกรรมที่1
ให้นักเรียนค้นหาความคำว่า  การจัดการชั้นเรียน    การบริหารการศึกษา
การบริหารการจัดการในห้องเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

ความหมายของการบริหารการศึกษา 
หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน  นับแต่บุคลิกภาพ  ความรู้ความสามารถ  เจตคติ  พฤติกรรม คุณธรรม  เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม   โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล  และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม  เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่

กิจกรรมที่2



กิจกรรมที่2
ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารการจัดการในประเด็นนี้
1 มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2 นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
    ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945  ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม แบ่งย่อย 3 กลุ่มดังนี้1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
 2. กลุ่มการบริหารจัดการหรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการของ อังรี ฟาโยล บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylorจะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยาได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
          2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง  คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
          2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
          2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา
          2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
          2.5  การสื่อสารแนวดิ่ง  การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
          2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ
    3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ   มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
     
   ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958  ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์  Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination  คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise  คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์  
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหารหรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์  ยึดหลักระบบงาน  + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
  1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์  เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง  
        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์   เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
             ทฤษฎี Xทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                     1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
              ทฤษฎี Y ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
4.อูชิ (Ouchi )  ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z  ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ  4  ประการคือ
                   1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                   2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                   3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                   4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
                                                                  
                                                            อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ,  และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์  เศาภายน,  (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ  : บุ๊ค พอยท์.
http://www.kru-itth.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรรมที่3


กิจกรรมที่ 3



ดร.กฤษณาคว้ารางวัล"แมกไซไซ ปี2552
ประวัติ
ชื่อจริงกฤษณา ไกรสินธุ์
การงานเภสัชกร
รางวัน นักวิทยาศาสตร์โลก พ.ศ. 2547
             บุคคลแห่งปีของเอเชีย พ.ศ. 2551
             รางวัลแม็กไซไซ บริการสาธารณะ พ.ศ. 2552
ผลงานวิจัยยาสามัญ "ยาเอดส์"
จัดตั้งโรงงาน AFRIVIR ผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์
ผลิตยา Thai-Tanzunate รักษาโรคมาลาเรีย
กิตติศัพท์ เภสัชกรยิปซี
ศาสนา พุทธ
เว็บไซต์  www.krisana.org
เภสัชกรหญิง ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย กฤษณาเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาและมารดาเป็นบุคคลากรทางสาธารณสุขทั้งคู่ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขเช่นกัน
กฤษณาจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร หลังจากจบการศึกษาแล้ว กฤษณาได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ทำงานในองค์การเภสัชกรรมและเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา[2] เธอดำรงตำแหน่งสุดท้ายในองค์การเภสัชกรรมคือผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม
ภายหลังลาออกจากองค์การเภสัชกรรม กฤษณาได้เริ่มต้นการทำงานในประเทศคองโกเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ "Afrivir" โดยมีส่วนผสมเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกากว่าอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเอริเทรีย แทนซาเนีย เบนิน และไลบีเรีย
ผลงานของกฤษณาเป็นที่สนใจในวงกว้างขึ้น เมื่อมีการนำไปตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของบทความภาษาเยอรมัน และมีการสร้างภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของเธอ เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (อังกฤษ: A Right to Live - Aids Medication for Millions) ในปี พ.ศ. 2549 รวมถึงการสร้างภาพยนตร์บรอดเวย์ชื่อ คอกเทลล์ (อังกฤษ: Cocktail) ในปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (อังกฤษ: Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศนอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชียประจำปี พ.ศ. 2551และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันกฤษณาดำรงตำแหน่งคณบดีเกียรติคุณของคณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
 ประวัติ
วัยเยาว์และชีวิตการทำงานในไทย [2495 - 2545]
กฤษณาเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางตอนใต้ของประเทศไทย บิดาและมารดาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขทั้งคู่ บิดาเป็นแพทย์และมารดาเป็นพยาบาล เติบโตในวัยเยาว์ที่เกาะสมุย จนกระทั่งย้ายเข้ามาศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชินี และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นเธอได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตรัชคไลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วเธอได้ทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีในปี พ.ศ. 2524 ก่อนจะลาออกมาทำงาน ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม
กฤษณาเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" เป็นครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2538 โดยประสบความสำเร็จในการผลิตยาชนิดแรกคือ "ZIDOVUDINE" (AZT) มีฤทธิ์ในการลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ภายหลังการค้นคว้าวิจัยต่อยากว่า 3 ปี (พ.ศ. 2536 - 2538) หลังจากนั้นเธอได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด โดยเฉพาะยา "GPO-VIR" หรือยาต้นเอดส์สตรีคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 องค์การอนามัยโลกเชิญกฤษณาไปที่ทวีปแอฟริกาเพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรม หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2545 กฤษณาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม

งานในทวีปแอฟริกา [2545 - ปัจจุบัน]
ภายหลังกฤษณาลาออกจากสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมแล้วนั้น เธอได้เดินทางไปยังประเทศคองโกโดยลำพัง เพื่อตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกที่นั่น ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ "Afrivir" อันมีส่วนผสมของตัวยาเหมือนยาในประเทศไทย ซึ่งผลิตขึ้นได้ครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้เดินทางไปช่วยเหลืองานทางเภสัชกรรม ณ ประเทศแทนซาเนีย โดยสามารถวิจัยและผลิตยา "Thai-Tanzunate" ในประเทศแทนซาเนียได้สำเร็จ อันเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกา และเดินทางช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย ประเทศเบนิน และประเทศไลบีเรีย
กฤษณาทำงานตามตารางงานของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งไม่มีความแน่นอน ในวันหนึ่งๆ เธออาจพักแรม ณ ประเทศหนึ่งและทำงานในอีกประเทศหนึ่ง ผลงานการทำงานของเธอได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เยอรมันฉบับหนึ่ง ทำให้มีบุคคลสนใจในงานของเธอ และได้มีการนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (อังกฤษ: A Right to Live - Aids Medication for Millions) ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์กว่า 3 รางวัล[7][8] รวมถึงการสร้างภาพยนตร์บรอดเวย์สหรัฐอเมริกาชื่อ คอกเทลล์ (อังกฤษ: Cocktail) ในเปิดแสดงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550[9] นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (อังกฤษ: Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศนอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 [10] รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชียประจำปี พ.ศ. 2551[11] รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี[2] และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552[8]
กฤษณายังได้รับปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิติตมาศักดิ์จากวิทยาลัย Mount Holyoke สหรัฐอเมริกา และเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินีประจำปี นักศึกษาเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันกฤษณายังคงทำงานช่วยเหลือด้านเภสัชกรรมแก่ประเทศในแอฟริกาอย่างต่อเนื่อง และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาองค์กรช่วยเหลือด้านยาของเยอรมนี[2]
ชีวิตส่วนตัว
กฤษณาเติบโตในครอบครัวซึ่งบิดาและมารดาทำงานในด้านสาธารณสุข ทำให้เธอได้รับแรงบันดาลใจและตัวอย่างจากบิดามารดา เมื่อจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาแล้วนั้น เธอเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อจบการศึกษาเธอต้องการกลับไปทำงานในภูมิลำเนาบ้านเกิดจึงกลับไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งขณะนั้น ศาสตร์ด้านเภสัชเคมีไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากนัก
เธอกล่าวว่าเธอมีจุดอ่อนในเรื่องของเด็กๆ เมื่อเธอเห็นเด็กจะสงสารอยู่เสมอ เมื่อได้รับทราบข่าวการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจขึ้นในการพัฒนายาเอดส์[9] แม้จะประสบอุปสรรคขัดขวางทั้งจากในและนอกองค์กร อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2538 เธอก็สามารถผลิตยาสามัญ "ยาเอดส์" ได้
เมื่อเธอเห็นว่าความช่วยเหลือเป็นไปได้ดีแล้วนั้น ในปี พ.ศ. 2542 เธอเกิดแรงบันดาลใจต้องการช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา เมื่อองค์การอนามัยโลกทราบเจตนารมณ์ดังกล่าวของเธอ จึงเชิญให้กฤษณาร่วมดูงานในทวีปแอฟริกาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยียาไวรัสเอดส์ หลังจากนั้นเธอจึงลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมเพื่อทำงานช่วยเหลือมนุษยชาติในทวีปแอฟริกาในปี พ.ศ. 2545
การทำงานในแอฟริกาเธอประสบปัญหามากมาย เธอถูกจี้ปล้นในระหว่างการเดินทางและถูกยิงระเบิดที่บ้านพักแต่ระเบิดนั้นพลาดเป้า ผลงานของเธอได้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในฝรั่งเศสและเยอรมนี การสร้างละครบรอดเวย์เรื่อง คอกเทลล์ ในสหรัฐอเมริกา และการสร้างละครเวที นางฟ้านิรนาม โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตครอบครัว กฤษณาไม่ได้สมรส อาศัยอยู่กับญาติในบางครั้งเพราะทำงานส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา เธอกล่าวว่า "เราควรทำวันนี้ให้เหมือนกับวันสุดท้ายของชีวิต เพราะนั้นแปลว่าเราต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะไม่มีวันพรุ่งนี้ให้แก้ตัวอีกต่อไปแล้ว"
ชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นเรื่องการวิจัยในเรื่องยาต้านไวรัสเอดส์
โรคมาลาเรียนำไปช่วยเหลือประชาชนทั้งในประเทศและนอกประเทศและเป็นผู้นำที่ดี  เก่ง มีความสามารถ  มีจิตใจโอบออมอารี    เป็นคนศรีแผ่นดิน   เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม     



ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางด้านวิชาการ