วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง

ประวัติส่วนตัว
ชื่อเล่นน้องทราย
นางสาวมลฤดี  สังข์ทอง   รหัส   5111116006   คณะครุศาสตร์   เอกสังคมศึกษา   กลุ่มเรียน01
บ้านอยู่ตำบลตลิ่งชัน   อำเภอท่าศาลา    จังหวัดนครศรีธรรมราช
งานอดิเรก   อ่านหนังสือทั่วไป
ชอบสีชมพู
ประวัติการศึกษา
ปฐมศึกษาจบจากโรงเรียนวัดจันท่าราม  .ตลิ่งชัน  .ท่าศาลา   .นครศรีธรรมราช
มัธยมศึกษาจบจากโรงเรียนสระแก้วรัตนวิทย์  .สระแก้ว  .ท่าศาลา   .นครศรีธรรมราช
ปรัชญา
ทำดีเสมอตัว    ทำชั้วมีคนมอง

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

กิจกรรมที่1
ให้นักเรียนค้นหาความคำว่า  การจัดการชั้นเรียน    การบริหารการศึกษา
การบริหารการจัดการในห้องเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

ความหมายของการบริหารการศึกษา 
หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน  นับแต่บุคลิกภาพ  ความรู้ความสามารถ  เจตคติ  พฤติกรรม คุณธรรม  เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม   โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล  และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม  เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่

กิจกรรมที่2



กิจกรรมที่2
ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารการจัดการในประเด็นนี้
1 มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2 นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
    ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945  ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม แบ่งย่อย 3 กลุ่มดังนี้1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
 2. กลุ่มการบริหารจัดการหรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการของ อังรี ฟาโยล บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylorจะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยาได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
          2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง  คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
          2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
          2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา
          2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
          2.5  การสื่อสารแนวดิ่ง  การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
          2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ
    3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ   มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
     
   ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958  ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์  Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination  คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise  คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์  
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหารหรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์  ยึดหลักระบบงาน  + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
  1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์  เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง  
        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์   เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
             ทฤษฎี Xทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                     1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
              ทฤษฎี Y ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
4.อูชิ (Ouchi )  ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z  ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ  4  ประการคือ
                   1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                   2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                   3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                   4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
                                                                  
                                                            อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ,  และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์  เศาภายน,  (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ  : บุ๊ค พอยท์.
http://www.kru-itth.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรรมที่3


กิจกรรมที่ 3



ดร.กฤษณาคว้ารางวัล"แมกไซไซ ปี2552
ประวัติ
ชื่อจริงกฤษณา ไกรสินธุ์
การงานเภสัชกร
รางวัน นักวิทยาศาสตร์โลก พ.ศ. 2547
             บุคคลแห่งปีของเอเชีย พ.ศ. 2551
             รางวัลแม็กไซไซ บริการสาธารณะ พ.ศ. 2552
ผลงานวิจัยยาสามัญ "ยาเอดส์"
จัดตั้งโรงงาน AFRIVIR ผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์
ผลิตยา Thai-Tanzunate รักษาโรคมาลาเรีย
กิตติศัพท์ เภสัชกรยิปซี
ศาสนา พุทธ
เว็บไซต์  www.krisana.org
เภสัชกรหญิง ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย กฤษณาเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาและมารดาเป็นบุคคลากรทางสาธารณสุขทั้งคู่ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขเช่นกัน
กฤษณาจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร หลังจากจบการศึกษาแล้ว กฤษณาได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ทำงานในองค์การเภสัชกรรมและเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา[2] เธอดำรงตำแหน่งสุดท้ายในองค์การเภสัชกรรมคือผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม
ภายหลังลาออกจากองค์การเภสัชกรรม กฤษณาได้เริ่มต้นการทำงานในประเทศคองโกเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ "Afrivir" โดยมีส่วนผสมเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกากว่าอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเอริเทรีย แทนซาเนีย เบนิน และไลบีเรีย
ผลงานของกฤษณาเป็นที่สนใจในวงกว้างขึ้น เมื่อมีการนำไปตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของบทความภาษาเยอรมัน และมีการสร้างภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของเธอ เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (อังกฤษ: A Right to Live - Aids Medication for Millions) ในปี พ.ศ. 2549 รวมถึงการสร้างภาพยนตร์บรอดเวย์ชื่อ คอกเทลล์ (อังกฤษ: Cocktail) ในปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (อังกฤษ: Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศนอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชียประจำปี พ.ศ. 2551และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันกฤษณาดำรงตำแหน่งคณบดีเกียรติคุณของคณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
 ประวัติ
วัยเยาว์และชีวิตการทำงานในไทย [2495 - 2545]
กฤษณาเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางตอนใต้ของประเทศไทย บิดาและมารดาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขทั้งคู่ บิดาเป็นแพทย์และมารดาเป็นพยาบาล เติบโตในวัยเยาว์ที่เกาะสมุย จนกระทั่งย้ายเข้ามาศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชินี และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นเธอได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตรัชคไลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วเธอได้ทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีในปี พ.ศ. 2524 ก่อนจะลาออกมาทำงาน ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม
กฤษณาเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" เป็นครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2538 โดยประสบความสำเร็จในการผลิตยาชนิดแรกคือ "ZIDOVUDINE" (AZT) มีฤทธิ์ในการลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ภายหลังการค้นคว้าวิจัยต่อยากว่า 3 ปี (พ.ศ. 2536 - 2538) หลังจากนั้นเธอได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด โดยเฉพาะยา "GPO-VIR" หรือยาต้นเอดส์สตรีคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 องค์การอนามัยโลกเชิญกฤษณาไปที่ทวีปแอฟริกาเพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรม หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2545 กฤษณาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม

งานในทวีปแอฟริกา [2545 - ปัจจุบัน]
ภายหลังกฤษณาลาออกจากสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมแล้วนั้น เธอได้เดินทางไปยังประเทศคองโกโดยลำพัง เพื่อตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกที่นั่น ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ "Afrivir" อันมีส่วนผสมของตัวยาเหมือนยาในประเทศไทย ซึ่งผลิตขึ้นได้ครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้เดินทางไปช่วยเหลืองานทางเภสัชกรรม ณ ประเทศแทนซาเนีย โดยสามารถวิจัยและผลิตยา "Thai-Tanzunate" ในประเทศแทนซาเนียได้สำเร็จ อันเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกา และเดินทางช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย ประเทศเบนิน และประเทศไลบีเรีย
กฤษณาทำงานตามตารางงานของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งไม่มีความแน่นอน ในวันหนึ่งๆ เธออาจพักแรม ณ ประเทศหนึ่งและทำงานในอีกประเทศหนึ่ง ผลงานการทำงานของเธอได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เยอรมันฉบับหนึ่ง ทำให้มีบุคคลสนใจในงานของเธอ และได้มีการนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (อังกฤษ: A Right to Live - Aids Medication for Millions) ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์กว่า 3 รางวัล[7][8] รวมถึงการสร้างภาพยนตร์บรอดเวย์สหรัฐอเมริกาชื่อ คอกเทลล์ (อังกฤษ: Cocktail) ในเปิดแสดงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550[9] นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (อังกฤษ: Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศนอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 [10] รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชียประจำปี พ.ศ. 2551[11] รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี[2] และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552[8]
กฤษณายังได้รับปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิติตมาศักดิ์จากวิทยาลัย Mount Holyoke สหรัฐอเมริกา และเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินีประจำปี นักศึกษาเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันกฤษณายังคงทำงานช่วยเหลือด้านเภสัชกรรมแก่ประเทศในแอฟริกาอย่างต่อเนื่อง และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาองค์กรช่วยเหลือด้านยาของเยอรมนี[2]
ชีวิตส่วนตัว
กฤษณาเติบโตในครอบครัวซึ่งบิดาและมารดาทำงานในด้านสาธารณสุข ทำให้เธอได้รับแรงบันดาลใจและตัวอย่างจากบิดามารดา เมื่อจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาแล้วนั้น เธอเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อจบการศึกษาเธอต้องการกลับไปทำงานในภูมิลำเนาบ้านเกิดจึงกลับไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งขณะนั้น ศาสตร์ด้านเภสัชเคมีไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากนัก
เธอกล่าวว่าเธอมีจุดอ่อนในเรื่องของเด็กๆ เมื่อเธอเห็นเด็กจะสงสารอยู่เสมอ เมื่อได้รับทราบข่าวการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจขึ้นในการพัฒนายาเอดส์[9] แม้จะประสบอุปสรรคขัดขวางทั้งจากในและนอกองค์กร อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2538 เธอก็สามารถผลิตยาสามัญ "ยาเอดส์" ได้
เมื่อเธอเห็นว่าความช่วยเหลือเป็นไปได้ดีแล้วนั้น ในปี พ.ศ. 2542 เธอเกิดแรงบันดาลใจต้องการช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา เมื่อองค์การอนามัยโลกทราบเจตนารมณ์ดังกล่าวของเธอ จึงเชิญให้กฤษณาร่วมดูงานในทวีปแอฟริกาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยียาไวรัสเอดส์ หลังจากนั้นเธอจึงลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมเพื่อทำงานช่วยเหลือมนุษยชาติในทวีปแอฟริกาในปี พ.ศ. 2545
การทำงานในแอฟริกาเธอประสบปัญหามากมาย เธอถูกจี้ปล้นในระหว่างการเดินทางและถูกยิงระเบิดที่บ้านพักแต่ระเบิดนั้นพลาดเป้า ผลงานของเธอได้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในฝรั่งเศสและเยอรมนี การสร้างละครบรอดเวย์เรื่อง คอกเทลล์ ในสหรัฐอเมริกา และการสร้างละครเวที นางฟ้านิรนาม โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตครอบครัว กฤษณาไม่ได้สมรส อาศัยอยู่กับญาติในบางครั้งเพราะทำงานส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา เธอกล่าวว่า "เราควรทำวันนี้ให้เหมือนกับวันสุดท้ายของชีวิต เพราะนั้นแปลว่าเราต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะไม่มีวันพรุ่งนี้ให้แก้ตัวอีกต่อไปแล้ว"
ชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นเรื่องการวิจัยในเรื่องยาต้านไวรัสเอดส์
โรคมาลาเรียนำไปช่วยเหลือประชาชนทั้งในประเทศและนอกประเทศและเป็นผู้นำที่ดี  เก่ง มีความสามารถ  มีจิตใจโอบออมอารี    เป็นคนศรีแผ่นดิน   เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม     



ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางด้านวิชาการ