วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 101)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น

 1) กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
                     แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกอ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา  เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชาแต่ระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวสันเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบ ๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลนสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘  สรรพสิทธิเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยามมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ต่อมาฝรั่งเศษทำแผนที่ผ่ายเดียวจึงตกเป็นของกัมพูชาโดยรัฐบานไทยไม่ทักทวงความถูกต้องของแผนทีต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี      จอมพลปอ    พิบูลส่งคราม  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น     ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5     คืนจากฝรั่งเศสและฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ  และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว  ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่2  รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา   และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้งภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมืองได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ  เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24พฤศจิกายน พ.ศ. 2501และในปีต่อมา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดี   โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชา  อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คน   ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3 และในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำภายในสิบปี
1)      กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
ใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จะทำให้เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไป
      
       กล่าวคือ กัมพูชาเริ่มเปิดเกมรุกด้านดินแดนกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่กัมพูชาต้องการครอบครองด้วยการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก จากนั้นเมื่อขึ้นมรดกโลกสำเร็จเส้นเขตแดนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
        ที่สำคัญคือ ประเทศไทยและกัมพูชายังมีการประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 34,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ซึ่งวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่มาจรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่ฝรั่งเศส โดยลากเส้นไหล่ทวีปพาดผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดของไทย
       ขณะที่ฝ่ายไทยประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 โดยวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่จรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่เดินเรืออังกฤษ หมายเลข 2414 โดยเส้นในช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของ กัมพูชา ส่วนเส้นช่วงที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา ซึ่งพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนั้นทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ ตกลงกันได้
         และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกลายเป็น ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเนื่องจากฝ่ายกัมพูชาต้องการครอบครอง และถูกนำไปเชื่อมโยงกับการนำ ปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะในการเป็นมรดกโลกนั้นจะต้องมีเขตพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า จะเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของไทย
            3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
                
นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในยุคที่มีการเซ็น MOU ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นคนเซ็นลงนามในหนังสือดังกล่าวร่วมกับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์
ทั้งๆ ที่ความจริงก็คือ MOU ฉบับดังกล่าวเป็น MOU ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยในผืนแผ่นดินของตัวเองด้วยการยอมรับแผนที่ มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ระวางดงรักหรือ ANNEX1 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากโดยกินพื้นที่ตั้งแต่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
         ทั้งนี้ MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค.ศ.1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.ศ. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.ศ. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.ศ. 1907
      
             
4. กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
 5ม.ค. นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40  ส.ว. เปิดเผยว่า  วันนี้ตนพร้อมด้วย ส.ว. ในกลุ่มอีก  2 คนได้เดินทางลงพื้นที่ ต.บ้านใหม่นองไทร  อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่ 7 คนไทยถูกจับ ได้พบกลุ่มชาวบ้านกว่า 10 คนทั้งหมดล้วนมีเอกสารสิทธิในที่ดินที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นของเขาทั้ง นส. 3 ก. นส.  2 หรือ สค 1 โดยทั้งหมดเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยทุกปีแต่ไม่สามารถเข้าไปทำมาหากินได้   เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ยูเอ็นได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตอพยพหนีภัยสงครามของชาวเขมร แต่เมื่อสงครามจบสิ้นก็ไม่ยอมกลับประเทศ
                   โดยเฉพาะในจุดที่ 7 คนไทยถูกจับนั้นเป็นของไทยแน่นอนเพราะมีหลักฐานว่าเป็นที่ดินของนายเบ พูลสุข ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ยังเหลือแต่ลูกสาว แต่ผู้นำรัฐบาลโดยเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กลับไปยอมรับว่าคนไทยทั้ง 7 คนรุกล้ำเข้าในแผ่นดินกัมพูชา ปัญหาเหล่านี้เคยร้องเรียนตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ครั้งนั้นพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
                     วันนี้เราปล่อยให้ไปขึ้นศาลแล้ว ถ้าขอกลับมาได้โดยยอมรับคำพิพากษาก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าเขตแดนที่ปักหลักเขตที่เห็นในภาพ ตรงนั้นไม่ใช่เขตแดนจริงตามที่ได้ข้อมูลจากทางราชการ แต่เป็นการปักเขตแดนในสมัยสงคราม ซึ่งยังไม่มีการวัดเขตแดนจริง ถ้ารัฐบาลดำเนินการพลาด เรื่องนี้ก็จะคล้ายกับเขาพระวิหารเมื่อถามว่าหากเข้าสู่กระบวนการของการพิจารณาไปแล้วจะมีปัญหาในการเจรจาเรื่องเขตแดนในอนาคตหรือไม่ อย่างที่บอกว่าดินแดนตรงนั้นเข้าปักเขตขึงลวดหนามตอนที่รบกัน เพื่อกั้นเขตไว้ แต่กรณีนี้เป็นการคบเด็กสร้างบ้าน เดินเข้าไปอย่างหน้าตาเฉย ตนบังเอิญเจอ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ มีหลายคนก็บอกว่านายพนิช อ่อนหัดจริงๆ เป็นถึง ส.ส. แต่กลับให้กลุ่มพันธมิตร ใช้ประโยชน์ตนเอง ส่วนวิธีการใช้คนไปทำงาน โดยปกตินายกก็สามารถใช้ได้ ไม่เว้นแม้แต่งานลับนั้น ตนถือว่าทำได้แต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมายอันไม่ชอบ โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าเป็นสหรัฐอเมริกา ควรต้องลาออกแล้ว เพราะมีการทำผิดหลายรอบ แสดงให้เห็นว่าไม่มีทักษะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น